พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

0
0 รีวิว   | 0 คำสั่งซื้อ
Availablity มีสินค้าทั้งหมด 1 ชิ้น
฿ 20,000,000.00

฿ 20,000,000.00

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

ข้อมูลทั่วไป / Information / 一般信息

รหัสตรวจสอบพระ / Certification Code / 检验码

- ASSC020

ประเภทพระ / Type / 佛型

- พระเครื่อง

ชื่อพระ / Name / 名称

- พระสมเด็จ

วัด/กรุ / Source / 资源

- วัดระฆัง

พิมพ์/ Style / 样式

- ใหญ่

เนื้อ / Texture / 质地

- ผง

ปี / Year / 年

- 163 ± 13

 

รายละเอียดวัตถุมงคล / Details / 细节

- การสร้างพระของสมเด็จโตเริ่มสร้างตั้งแต่ยังเป็นสามเณร อายุ 17 ปี (พ.ศ. 2348 หรือ รศ. 24) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2350 เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงได้มีการสร้างพระพิมพ์อย่างเป็นทางการ

โดยพระพิมพ์ ของท่านมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก เมื่อท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปี พ.ศ. 2407 จึงได้เรียกพระพิมพ์นั้นว่า “พระสมเด็จ” ผงและมวลสารที่นำมาใช้ในการสร้างพระสมเด็จ

ในแต่ละคราว ก็มีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่ที่สามารถจัดเตรียมมาได้ โดยมีเจตนารมย์เพื่อการสืบทอดพุทธศาสนา ดังนั้น พระที่ผ่านพิธีหลักแต่ละครั้ง จะสร้างเท่าจํานวนพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์

ผงและมวลสารต่างๆ ที่นำมาใช้ในการสร้างพระสมเด็จสามารถจำแนกได้ ดังนี้

  1. ผงพุทธคุณทั้ง 5

– ผงกฤติยาคม มีอานุภาพในทางแคล้วคลาดปลอดภัย

– ผงปถมัง     มีอานุภาพในทางคงกระพันชาตรี ปกป้องคุ้มครอง

– ผงอิทธิเจ     มีอานุภาพในทาง เมตตามหานิยม

– ผงตรีนิสิงเห   มีอานุภาพในทางมหาเสน่ห์

– ผงมหาราช    มีอานุภาพในทาง มหาอํานาจ เสริมบารมี

  1. ปูนเหลือกหอย หินปูน ปูนเพชรหรือปูนปอร์ตแลนด์
  2. ไม้มงคลต่างๆ ว่านเกษร 108 ฯลฯ
  3. ดินอาถรรพ์ ได้แก่ ดินเจ็ดป่า ดินโป่ง ดินเจ็ดท่า ดินเจ็ดสระ ดินหลักเมือง ฯลฯ
  4. ใบลานคําภีร์ชํารุด ผงถ่านแม่พิมพ์ชํารุด
  5. อาหาร ต่างๆ ที่แบ่งจากการฉันของท่าน เช่นข้าวสุก กล้วยหอมจันทร์ ขนุนสุก ฯลฯ
  6. น้ําพุทธมนต์ต่างๆ
  7. น้ําอ้อยเคี่ยว น้ําผึ้ง ใช้ผสมในยุคต้นถึงยุคกลาง (น้ํามันตังอิ้วใช้ในยุคปลาย)
  8. เศษพระกําแพงแตกหัก
  9. พระธาตุ หินสบู่ รัตนชาติต่างๆ

 

ผู้ครอบครอง / Owner / 所有者

- คุณ ภาณุวิทย์ เธียรจันทร์วงศ์

 

ส่วนผสมสำคัญ

 

  • หลักการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
     

หลักการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การกำหนดอายุโบราณวัตถุด้วยวิธีการเปล่งแสง
(Luminescence dating) ด้วยเครื่อง TL/OSL reader Lexsyg Research
หลักการโดยทั่วไปของเทคนิค คือ ผลึกแร่โดยทั่วไปจะมีการจัดเรียงตัวของประจุบวกและประจุลบอย่างสมดุล แต่ผลึกแร่ในธรรมชาติส่วนใหญ่มีความบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา หรือจากการแทนที่ของประจุของธาตุมลทิน ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้บางตำแหน่งของการจัดเรียงตัวภายในผลึกแร่ไม่มีประจุลบ และทำพฤติกรรมคล้ายหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน (electron trap) เมื่อผลึกแร่ได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของธาตุกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติจะทำให้อิเล็กตรอนโดยรอบหลุมกักเก็บถูกกระตุ้นและเข้ามาฝังตัวในหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน ซึ่งจำนวนอิเล็กตรอนเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีในธรรมชาติและระยะเวลาที่ผ่านมา ต่อมาเมื่อผลึกแร่ถูกกระตุ้นอีกครั้งด้วยแสงหรือความร้อน จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากหลุมกักเก็บและเปล่งแสงเพื่อคายพลังงานและกลับมาอยู่ในสภาวะเสถียร

ในกระบวนการสร้างพระเครื่องในสมัยโบราณ ผู้สร้างจะจัดหามวลสาร เช่น เปลือกหอย ว่านชนิดต่าง ๆ แร่รัตนชาติ และวัตถุดิบอื่น ๆ มาบดจนมีเนื้อละเอียด ซึ่งในกระบวนการบด มวลสารหรือตัวอย่างจะสัมผัสกับแสงและความร้อน ทำให้อิเล็กตรอนภายในตัวอย่างหลุดออกจากหลุมกักเก็บอิเล็กตรอนทั้งหมด เมื่อนำตัวอย่างเข้าบล็อกพิมพ์ ผลึกภายในเนื้อของตัวอย่างจะไม่สัมผัสกับแสงอีกเลย และจะเริ่มต้นสะสมอิเล็กตรอนใหม่อีกครั้ง โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่สะสมเหล่านี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

การคำนวณอายุของพระเครื่อง ซึ่งจัดเป็นโบราณวัตถุอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องทราบปริมาณรังสีสะสมที่พระเครื่องได้รับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (Equivalent dose) ซึ่งสามารถทราบได้จากเครื่อง TL/OSL reader Lexsyg Research โดยการใช้แสงกระตุ้นไปยังตัวอย่าง จากนั้นวัดปริมาณการเปล่งแสงเทียบกับเวลา และปริมาณรังสีที่พระเครื่ององค์นั้น ๆ ได้รับต่อปี (Annual dose) ซึ่งสามารถทราบได้จากเครื่อง ICP-MS (Inductively coupled plasma mass spectrometry) โดยการใช้พลังงานจากแสงเลเซอร์เพื่อให้ตัวอย่างระเหิดและแตกตัวเป็นไอออน แล้ววัดกระแสไอออน ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของไอโซโทปรังสี ซึ่งได้แก่ ยูเรเนียม ทอเรียม และโพแทสเซียม จากนั้นจึงนำค่าทั้งสองมาใช้เพื่อคำนวณอายุต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถบอกความแท้ของพระเครื่องได้ แต่สามารถบอกได้ว่าพระเครื่ององค์นั้น ๆ ถูกสร้างมาแล้วเป็นระยะเวลานานเท่าใด ทั้งนี้อมตะสยามยังมีผู้ชำนาญการทางด้านธรรมชาติวิทยา การยุบ ย่น หด เหี่ยวแห้ง เมื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บวกกับธรรมชาติวิทยา จึงสามารถบอกความเก่า-ใหม่ได้อย่างแม่นยำ

  • Luminescence dating used for age determination of Quaternary materials by TL/OSL reader Lexsyg Research.

Luminescence is a phenomenon which arises from the interaction of ionising radiation and trapping of electrons in the crystal lattice of the dosimeter mineral. The crystal lattice of a mineral, such as quartz, feldspar, consists of positive and negative ions. However, some lattice is defected because of impurities in the crystal and from radiation damage. Defects which have occurred due to the absence of a negative ion are known as electron traps. Once trapped, an electron remains in the defect until released by thermally or optically induced vibrations in the lattice. Once free, the electron can be transferred to an unstable level below the conduction band, or can recombine with a hole in the valence band. This type of recombination may result in the production of a photon of light. 

The process of making an ancient amulet, the artificer will provide a shell, herbs, minerals and specific material and precisely grind. During the procedure, the sample will contact light and heat which make the internal electron break of the electron trap. When the sample is in the fixed blog print, the internal body is blocked from light. The electron begins to gather again by the amount that will exponentially increase over time.

For dating, the amount of absorbed energy per mass of mineral due to natural radiation exposure since zeroing is known as the Equivalent dose which is measured by TL/OSL reader Lexsyg Research by using a light to stimulate directly to the sample then measuring it emit due to time. And the Annual dose is the amount of radiation that a sample is exposed to per annum during its burial period measure by ICP-MS (Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry) by using an energy from laser to sublimate the sample and ionized then measure the ion current which is precisely proportion of isotopes radiation which are Uranium, Thorium and Potassium then we bring both value for the further calculation.

In conclusion, however, scientific procedure still can’t tell the pureness of amulets but can tell how long they have been constructed. However Amata Siam is an expert of natural science and combining scientific procedure will soon tell the exact age of the antiques.

  • 科学研究的原则发光法鉴定古董年代(发光约会)与 TL/OSL 阅读器Lexsyg Research

该技术的一般原理是矿物晶体通常具有平衡排列的正电荷和负电荷。但自然界中的大多数矿物晶体都是有缺陷的。这可能是由冷却引起的熔岩的速度或来自元素杂质电荷的位移由于这些原因,矿物晶体排列的某些位置不带负电。并且表现得像一个含电子的空穴。这些电子的数量与自然界和一段时间内的辐射量有关。后来,当矿物晶体被光或热重新激活时,这导致电子从坑中逸出并发光以释放能量并恢复到稳定状态。

在古代制作护身符的过程中创作者会提供贝壳、各类植物、宝石等原材料,研磨成细腻的质地。在研磨过程中质量或样品暴露于光和热。这导致样品中的电子完全脱离电子限制孔。当样品放入打印块时样品中的晶体不再暴露在光线下。并将再次开始积累电子。这些积累的电子数量随时间增加。

护身符年龄的计算被列为古董之一需要知道护身符从过去到现在累计接受的辐射量 (等效剂量)(Equivalent dose)。这可以由 TL/OSL 读取器 Lexsyg Research 通过对样本应用光来确定。然后随时间测量发光量。以及该护身符每年接受的辐射量(年剂量)(Equivalent dose) 。  这可以从 ICP-MS(电感耦合等离子体质谱仪)机器通过使用激光能量升华和电离样品得知。

然后测量离子电流这与放射性同位素、铀、钍和钾的含量成正比。然后使用这两个值来计算下一个年龄。

然而,科学过程仍然无法辨别护身符的真伪。但可以看出那个特定的护身符。建了多久? Amata Siam也有自然科学方面的专家,在将科学过程与自然科学相结合时崩溃、收缩、枯萎。因此能够准确分辨新旧。

 

ตรวจสอบโดย :

สถาบันตรวจสอบและวิจัยวัตถุโบราณ

ร่วมกับ

ศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต (อมตะสยาม)

 

ภายใต้การควบคุมดูแลของ

บริษัท อมตะ สยาม (2017) จำกัด (สำนักงานใหญ่)

อาคาร ASSC เลขที่ 78 ถ.เสรีไทย แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510

โทรฯ 02-039-8978, 094-789-5226

อีเมล์ : amatasiam2017@gmail.com


 

by :

Amata Siam Science Center

And

Baramee Somdej Toh Amata Siam Amulet Center

Under the supervision of Amata Siam (2017) Company Limited (Head Office)

No.78, ASSC THAILAND, Serithai Road, Minburi Sub-district, Minburi district,

Bangkok 10510

Call 02-039 8978, 094-789-5226

Email: amatasiam2017@gmail.

 

จากการรีวิว 0 reviews

-

Average score

  • 0
  • 0
  • 0
  • 0
  • 0

Shipping

จัดส่งภายใน 48 ชั่วโมง

 

Order Online Service

ติดต่อสอบถาม 24 ชั่วโมง

 

Payment

ช่องทางในการชำระเงิน

 

Guaruntee

รับประกันสินค้า

 

Top Right Link Text
<-script type="text/javascript" src="https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=AIzaSyBtRmXKclfDp20TvfQnpgXSDPjut14x5wk®ion=GB">